การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2562–2563
การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2562–2563

การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2562–2563

 จีนกลุ่มอื่นๆ:รัฐบาลการประท้วงต่อต้านร่างรัฐบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนฮ่องกง พ.ศ. 2562–2563 เป็นการเดินขบวนในฮ่องกงและนครอื่น ๆ ทั่วโลกเพื่อเรียกร้องให้ถอน "ร่างรัฐบัญญัติกฎหมายผู้หนีคดีและความช่วยเหลือร่วมกันทางกฎหมายในคดีอาญา (แก้ไขเพิ่มเติม) ค.ศ. 2019" (Fugitive Offenders and Mutual Legal Assistance in Criminal Matters Legislation (Amendment) Bill 2019) ที่รัฐบาลฮ่องกงเสนอ เพราะเกรงว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะทำให้ฮ่องกงเปิดรับความครอบงำจากกฎหมายของจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งจะทำให้ชาวฮ่องกงตกอยู่ใต้ระบบกฎหมายอื่นที่นอกเหนือไปจากของตนประชาคมทางกฎหมายและประชาชนทั่วไปเริ่มประท้วงหลายรูปแบบในฮ่องกง ซึ่งรวมถึงการประท้วงครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ของแนวร่วมสิทธิมนุษยชนพลเมือง (Civil Human Rights Front) ที่มีผู้มาสมทบถึง 1.03 ล้านคนตามการประเมินของแนวร่วมเอง และได้รับการนำเสนออย่างมากในสื่อมวลชน[11] ต่อมา ชาวฮ่องกงโพ้นทะเลและผู้คนในท้องถิ่นอื่นก็พากันประท้วงในพื้นที่ของตนแม้มีการเดินขบวนอย่างกว้างขวาง รัฐบาลฮ่องกงยืนยันจะผ่านร่างกฎหมายนี้ให้ได้ โดยกล่าวว่า จำเป็นต้องมีกฎหมายนี้อย่างเร่งด่วน จะได้อุด "ช่องว่าง" ในกฎหมาย[12] เดิมกำหนดจะพิจารณาวาระที่สองในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562 แต่เลื่อนออกไปก่อนเพราะการประท้วง[13] การประชุมที่กำหนดจะจัดในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ก็เลื่อนเช่นกัน[14]วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2562 แคร์รี หลั่ม ผู้บริหารสูงสุดของเกาะฮ่องกงแถลงว่า ได้ให้เลื่อนพิจารณาร่างกฎหมายนี้อย่างไม่มีกำหนด[15] แต่เน้นย้ำว่า เป็นเพียงเลื่อน ไม่ใช่ถอน[16] ทำให้มีผู้ฆ่าตัวตายประท้วงที่ลานไท่กู่ (Pacific Place) ในอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา[17] ครั้นวันรุ่งขึ้น มีการเดินขบวนใหญ่อีกครั้งเพื่อกดดันให้ถอนร่างกฎหมายและให้ผู้บริหารฮ่องกงลาออกจากตำแหน่ง[18][19]การประท้วงดำเนินตลอดมาทั้งฤดูร้อน และมักทวีเป็นการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างตำรวจ, ผู้ปฏิบัติการเชิงรุก, กลุ่มอั้งยี่ (triad) ที่หนุนจีนแผ่นดินใหญ่, และชาวบ้านในกว่า 20 ท้องที่ทั่วทั้งภูมิภาค[20] เมื่อการชุมนุมคืบหน้าไปนั้น นอกจากผู้ชุมนุมจะเรียกร้องให้มีการสอบสวนอย่างเป็นอิสระเรื่องที่ตำรวจใช้ความรุนแรง เรียกร้องให้ปล่อยผู้ชุมนุมที่จับตัวไป และเรียกร้องให้รัฐบาลเลิกถือว่าการประท้วงเป็นการก่อจลาจล เป็นต้นแล้ว[21] ผู้ชุมนุมยังเรียกร้องเพิ่มเติมให้ประชาชนสามารถเลือกตั้งผู้บริหารและคณะผู้บริหารได้โดยตรง ซึ่งเคยเป็นชนวนการประท้วงเมื่อ พ.ศ. 2557[22]หลั่มชะลอร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนในวันที่ 15 มิถุนายน แต่ยังไม่ยอมให้สัญญาว่าจะถอนร่างฯ จนวันที่ 4 กันยายน[23] อย่างไรก็ดี เธอยังปฏิเสธยอมรับข้อเรียกร้องอีกสี่ข้อที่เหลือ กล่าวคือ ให้ตั้งคณะกรรมการอิสระสอบสวนความรุนแรงของตำรวจ การปล่อยตัวผู้ประท้วงที่ถูกจับกุม การเลิกระบุการประท้วงของทางการว่าเป็น "การจลาจล" และให้เธอลาออกจากตำแหน่งและให้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปสำหรับสภานิติบัญญัติและผู้บริหารสูงสุด[24]วันที่ 1 ตุลาคม มีการเดินขบวนขนานใหญ่ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 70 ปีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน มีผู้ประท้วงนักศึกษาอายุ 18 ปีถูกตำรวจยิงด้วยกระสุนจริง ผู้บริหารสูงสุดในสภาใช้ข้อบังคับระเบียบฉุกเฉินในวันที่ 4 ตุลาคมเพื่อใช้กฎหมายห้ามสวมหน้ากาก[25]

การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2562–2563

วิธีการ การยึดพื้นที่, การขัดขืนอย่างสงบ, การประท้วงตามท้องถนน, การปฏิบัติการเชิงรุกทางอินเทอร์เน็ต, การหยุดงานหมู่
บาดเจ็บ
  • มากกว่า 2,600 คน (ในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 2019)[8]
สาเหตุ
สถานะ ยังดำเนินอยู่
เป้าหมาย
  • ให้ถอนร่างรัฐบัญญัติ
  • ให้รัฐบาลเลิกระบุว่าการประท้วงเป็น "จลาจล"
  • ให้ปล่อยตัวผู้ประท้วงที่ถูกจับและให้พ้นผิด
  • ให้ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อสอบสวนพฤติกรรมของตำรวจ
  • ให้แคร์รี หลั่ม ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง ลาออก
  • ให้ประชาชนมีสิทธิทั่วกันในการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติและผู้บริหารสูงสุด
ถูกตั้งข้อหา มากกว่า 1,749 คน (ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2020)[10]
สถานที่ ฮ่องกง:
  • จากวานไจ่ (Wan Chai) ไปจินจง (Admiralty) (31 มีนาคม พ.ศ. 2562)
  • จากถงหลัววาน (Causeway Bay) ไปจินจง (28 เมษายน พ.ศ. 2562)
  • จากจงหฺวัน (Central) ไปจินจง (6 มิถุนายน พ.ศ. 2562)
  • จากถงหลัววานไปจินจง (9 มิถุนายน พ.ศ. 2562)
  • จินจง (12 มิถุนายน พ.ศ. 2562)
  • จงหฺวัน (14 มิถุนายน พ.ศ. 2562)
และนครอื่น ๆ ทั่วโลก
การยอมผ่อนปรน
  • ถอนร่างรัฐบัญญัติ
  • แคร์รี หลั่ม ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง ขอโทษต่อสาธารณชนเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ที่ไม่ได้สื่อสารเรื่องวัตถุประสงค์ของร่างรัฐบัญญัติให้ดีและไม่ได้ถามประชาชนก่อน
  • แคร์รี หลั่ม แถลงว่า ร่างรัฐบัญญัติสิ้นสุดแล้วเมื่อ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
  • ตำรวจถอนการถือว่าการประท้วงเป็นการก่อจลาจลในบางส่วน[2]
วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน
(1 year, 4 months and 4 days)
เสียชีวิต 8 คน (ฆ่าตัวตาย)[4][5][6][7]
ถูกจับกุม 9,113 คน (ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2020)[9]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2562–2563 http://www.ejinsight.com/20190726-police-defend-re... http://www.ejinsight.com/20190820-why-police-shoul... http://www.ejinsight.com/20190822-independent-inqu... http://www.ejinsight.com/20190829-detained-protest... http://www.thestandard.com.hk/breaking-news.php?id... http://www.thestandard.com.hk/section-news.php?id=... http://www.thestandard.com.hk/sections-news_print.... http://ebook.lib.hku.hk/bldho/articles/BL0474.pdf //www.worldcat.org/issn/0362-4331 //www.worldcat.org/issn/1021-6731